วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา (เวลา 8.00-11.30 น)

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
          ตอบ การในอธิบายเรื่องความเหมือนและความต่างของคำสามคำดังปรากฏข้างบน กระผมขอเริ่มต้นที่การอธิบายความหมายของคำแต่ละคำก่อนและจะกล่าวถึงความเหมือนและความแตกต่างในภายหลัง
          ศีลธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ที่จะเกิดขึ้นภายในร่างกายมนุษย์ซึ่งเรานับว่าเป็นนามธรรมแต่จะเห็นได้เมื่อมีการแสดงออกเท่านั้น
          จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนที่มนุษย์ยึดถือและปฏิบัติสืบเนื่องมาเป็นเวลานาน  โดยจะเป็นการแสดงออกที่เห็นได้อย่างชัดเจน เช่นการถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้าน การยกมือทักทายเมื่อเจอผู้อื่น
          กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่กำหนดลักษณะความประพฤตของแต่ละบุคคลในสังคม ซึ่งบุคคลนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ อย่างเคร่งครัดเพราะถ้าหากละเมิดหรือกระทำการใด ๆ ที่ผิดกฎหมายจะต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติเอาไว้

อนุทินที่ 8สรุปเนื้อหาจากการอบรมการทำ SWOT เบื้องต้น โดย อาจารย์ ดร. วนิดา ชุมนุม

สรุปเนื้อหาจากการอบรมการทำ SWOT เบื้องต้น
โดย อาจารย์ ดร. วนิดา ชุมนุม

          การอบรมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนที่ต้องการศึกษา แสวงหาเนื้อหาเพิ่มเติมในเรื่องนั้น ๆ โดยในการอบรมส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เฉกเช่นเดียวกับการอบรมการทำ SWOT  เบื้องต้นซึ่งเป็นการอบรมที่ดีและคุมค่าอย่างมากเพราะเป็นการอบรมในเรื่องที่เราสนใจและสามารถนำไปใช้ได้อย่างแน่นอนในอนาคต โดยในการอบรมมีการกล่าวถึงประเด็นจำนวน 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือความหลากหลายทางการเปลี่ยนแปลง และประเด็นที่สอง คือ การจัดทำ SWOT เบื้องต้น
          ในส่วนประเด็นแรกเป็นการกล่าวถึง ความหลากหลายของการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมากมายและเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกนาทีแต่ที่เห็นได้ชัด ๆ คือ สังคมใบนี้กำลังจะเข้าสู่ยุค Knowledge Society, Learning Society ที่จะมีการแข่งขันกันทางด้านการเรียนรู้ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหารที่มีการสั่งอาหารออนไลน์ ดังนั้นไม่ว่าจะชีวิตคนเราหรือระบบการศึกษาจะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์แบบระยะยาวเพื่อที่จะมีอนาคตที่สดใดดังที่ ท่านนายกรัฐมาตรได้กล่าวไว้ โดยในการวางแผนนี้จะต้องจัดโครงสร้างองค์การใหม่โดยเปลี่ยนจากแนวตั้งเป็นแนวราบและแนวเครือข่ายซึ่งจะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจจากหัวหน้าเพียงอย่างเดียวไปสู่ให้ผู้ปฏิบัติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีการทำประชาคมเพื่อที่จะให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาท และเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นจะต้องมองภาพที่เป็นลักษณะองค์รวม ไม่ใช่มองเฉพาะจุด ซึ่งองค์กรจะมีการทำ SWOT เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในด้านต่าง ๆ

อนุทินที่ 7

อนุทินที่ 7

จงตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ) ลงในบล็อกของนักศึกษา

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
          ตอบ  เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการโดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ไปจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม จึงเป็นการสมควรปรับปรุงการบริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
          ตอบ     ก. ผู้ปกครอง หมายความว่า  บิดามารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
          ข.เด็ก หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
          ค.การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6

แบบฝึกหัดทบทวน

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
          ตอบ ก. การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
          ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
          ค. การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
          ง. มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสาหรับส่งเสริมและกากับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 4

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 2

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนที่อาจารย์ให้มาแล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.  ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ    ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475) คือ คณะราษฎร์ ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย และต้องการให้ประชาชนมีเสียงในการดำเนินกิจการในการพัฒนาประเทศ
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ  หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

อนุทินที่ 5

คดีธัมมชโย ยื้อ-จบยากสนช.ดึง'จรัญ'ร่วมแก้กม.สงฆ์
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันพุธที่ 1 มีนาคม 2560 00:00:56 น.

                ระหว่างที่ "ปมปัญหาธัมมชโย" ยังไม่จบ และมีแนวโน้มอาจยืดเยื้อไปอีกนาน ระหว่างนี้แวดวงพุทธศาสนาและแวดวงสงฆ์ ก็กำลังให้ความสนใจกับความเคลื่อนไหวของ คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีการตั้งคณะทำงานปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยมี "สมพร เทพสิทธา ประธานอนุ กมธ.ศาสนา" เป็นประธานคณะทำงาน
          ปรากฏว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกจับตามองจากแวดวงสงฆ์อย่างมาก เพราะก่อนหน้านี้ตอน สนช.มีมติแก้ไขมาตรา 7 พ.ร.บ.สงฆ์ 3 วาระรวด เพื่อปลดล็อกการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชฯ ต้นเรื่องแก้มาตรา 7 ดังกล่าว ก็มาจาก กมธ.ศาสนาฯ ชุดนี้ ที่ผลักดันจนสำเร็จ
          พอมารอบนี้ เมื่อ สนช.เริ่มขยับ เลยทำให้แวดวงสงฆ์ให้ความสนใจกันอย่างใกล้ชิด ยิ่งเมื่อเสียงเชียร์ให้มีการ "ปฏิรูปพุทธศาสนา" ดังขึ้นเรื่อยๆ หลังเกิดกรณี "ปัญหาวัดธรรมกาย"เสียงสนับสนุนให้มีการปฏิรูปวงการสงฆ์ก็ยิ่งดังขึ้นเรื่อยๆ จากที่คนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยอยู่แล้ว เพราะที่ผ่านมาวงการสงฆ์ก็มีปัญหาเรื่อง "พระนอกรีต" ประพฤติตัวไม่เหมาะสม รวมถึงเรื่อง "พุทธพาณิชย์" ซึ่งช่วงหลังเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้คนจำนวนไม่น้อยเสื่อมศรัทธาต่อวงการพุทธศาสนาอย่างมาก

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 3


ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา




          พ่อแม่ดช.วัย 14 รุดแจ้งจับครูใช้หวายเฆี่ยนหลัง-เตะกกหู ไม่พอใจเจาะยางรถผอ.รร.
          25 มิ.ย. นางสุจิตย์ และนายสราวุฒิ (ขอสงวนนามสกุล) สองสามีภรรยา นำตัวด.ช.ธี (นามสมมติ) อายุ 14 ปี ลูกชาย นักเรียนชั้นม.3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในตำบลบางมะพร้าว อ.หลังสวน จ.ชุมพร เข้าแจ้งความกับ ร.ต.อ.วรรณโณ จิตภิบาล ร้อยเวรสภ.หลังสวน ว่าลูกชายถูกครูเฆี่ยนตีหลังจนเกิดบาดแผลหลายแห่ง แถมยังโดนครูคนเดียวกันเตะเข้าที่กกหูด้านซ้าย