วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา (เวลา 8.00-11.30 น)

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
          ตอบ การในอธิบายเรื่องความเหมือนและความต่างของคำสามคำดังปรากฏข้างบน กระผมขอเริ่มต้นที่การอธิบายความหมายของคำแต่ละคำก่อนและจะกล่าวถึงความเหมือนและความแตกต่างในภายหลัง
          ศีลธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ที่จะเกิดขึ้นภายในร่างกายมนุษย์ซึ่งเรานับว่าเป็นนามธรรมแต่จะเห็นได้เมื่อมีการแสดงออกเท่านั้น
          จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนที่มนุษย์ยึดถือและปฏิบัติสืบเนื่องมาเป็นเวลานาน  โดยจะเป็นการแสดงออกที่เห็นได้อย่างชัดเจน เช่นการถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้าน การยกมือทักทายเมื่อเจอผู้อื่น
          กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่กำหนดลักษณะความประพฤตของแต่ละบุคคลในสังคม ซึ่งบุคคลนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ อย่างเคร่งครัดเพราะถ้าหากละเมิดหรือกระทำการใด ๆ ที่ผิดกฎหมายจะต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติเอาไว้

          กฎหมายมีต้นกำเนิดมาจาก ศีลธรรมและจารีตประเพณีจึงทำให้ทั้งสามคำนี้มีความเหมือนกันแต่กฎหมายจะมีความเป็นรูปธรรมมากกว่าทั้งศีลธรรมและจารีตประเพณี ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนข้าพเจ้าขอแยกอธิบายไปเป็นประเด็น ๆ
          ความแตกต่างของกฎหมายกับจารีตประเพณี
                   - กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐแต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับของชนชั้นใดชั้นหนึ่ง
                   - ถ้าผู้ใดทำผิดกฎหมายจะถูกลงโทษตามที่บัญญัติไว้ แต่ถ้าหากทำผิดจารีตประเพณีจะถูกว่า                กล่าวตักเตือน
                   - กฎหมายสารถกำหนดความประพฤติของมนุษย์ได้เพียงบางอย่าง แต่จารีตประเพณีจะ                     ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต
          ความแตกต่างของกฎหมายกับศีลธรรม
                   - กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจิตใจของมนุษย์
                   - กฎหมายเป็นสิ่งที่มีลายลักษณ์อักษรสามารถเปิดอ่านได้ตลอดเวลาแต่ ศีลธรรมไม่เป็นลาย                 ลักษณ์อักษรและยากที่จะเข้าใจ
                   - กฎหมายถ้าหากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูฏลงโทษแต่สำหรับศีลธรรม ถ้าหากผู้ใดผิดศีลธรรมจะมี                     ผลกระทบแค่กระทบกระเทือนจิตใจของผู้คนนั้น ๆ
          ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ทั้ง ศีลธรรม จารีตประเพณีและกฎหมายล้วนมีความเหมือนและความต่างซึ่งสามารถแยกได้อย่างชัดเจน แต่ขอให้พึ่งรู้ว่า กฎหมายมีต้นกำเนิดมาจากศีลธรรมและจารีตประเพณีอันดีงามของเรา ซึ่งถ้าหากทุกคนมีการยึดถือปฏิบัติตาม ศีลธรรมอันดีงามและจารีตประเพณีที่มีคุณค่า กฎหมายในประเทศนั้น ๆ ก็แทบจะไม่มีผลใด ๆ เลย
2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
          ตอบ จากการศึกษาข้อมูลพบว่า มีนักวิชาการได้ให้ความหมายเกี่ยวกับคำว่า “ศักดิ์ของกฎหมาย” ไว้อย่างมากมายซึ่งผลสรุปได้ดังนี้  “ศักดิ์ของกฎหมาย”  คือ ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย ในทางด้านกฎหมายการจัดลำดับฐานะเป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งเพราะถ้าหากกฎหมายไม่มีการแบ่งฐานะ เวลาเกิดเหตุการณ์ใดหรือนำไปใช้งานจะทำให้เกิดความสับสน โดยการจัดลำดับฐานะทางกฎหมายนี้ กฎหมายที่มีฐานะต่ำกว่าจะขัดกับกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าไม่ได้ ดังนั้นในการออกกฎหมายที่ต่ำกว่าจะต้องออกให้สอดคล้องกับกฎหมายที่สูงกว่าเพราะถ้าหากขัดแย้งกันจะทำให้กฎหมายนั้น ๆ ไม่มีผลบังคับใช้
          ในส่วนของลำดับฐานะความสูงต่ำของกฎหมาย มีการแบ่งลำดับขั้นที่แตกต่างกันออกไปซึ่งขึ้นอยู่กับนักวิชาการคนนั้น ๆ แต่ที่มีความชัดเจนคือ ระดับชั้นของกฎหมาย(ศรีราชา เจริญพานิช,2548 ) ที่สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
          โดยกฎหมายที่มีระดับสูงสุดคือ รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติและคำสั่ง คสช. โดยที่รัฐธรรมนูญจะเป็นแม่บทของกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด และในส่วนของคำสั่งคณะปฏิวัติและคำสั่ง คสช. จะเป็นกฏหมายที่มีศักดิ์เทียบเท่ากับรัฐธรรมนูญถ้าหากมีการประกาศใช้และเมื่อประกาศใช้แล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนั้น ๆ จะถูกยกเลิกใช้ในทันที
          รองลงมาจะเป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบิหารในการออก โดยจะมีกฎหมายที่สำคัญอยู่สี่ส่วนคือ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนดและพระบรมราชโองการให้บังคับ
          ถัดมาคือ กฎหมายที่ฝ่ายบริการเป็นผู้ออก โดยในส่วนนี้จะมีพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงและระเบียบ ข้อบังคับประกาศ
          และกฎหมายระดับสุดท้ายคือ กฎหมายที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ออก เช่น พระราชบัญญัติเทศบาล ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
          จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับฐานะของกฎหมายที่จะมีการแบ่งลำดับสูง ต่ำกันไปตามความสำคัญ ในส่วนของลำดับฐานะจะแบ่งตามฝ่ายที่อออกกฎหมายแต่ก็มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทที่ถ้าหากออกกฎหมายใดมาก็จะต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
          ตอบ จากเหตุการณ์ข้างต้นเป็นเหตุการณ์ที่โด่งดังในโลกโซเซียลอยู่หลายวัน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง สืบเนื่องมาจากครูใช้อารมณ์ในการลงโทษเด็กนักเรียนซึ่งขัดกับระเบียบของกระทรวงที่มีการยกเลิกการลงโทษเด็กด้วยการเฆี่ยนตีมาเป็นเวลานับทศวรรษซึ่งโดยตอนนี้ครูทำได้แค่เพียง ว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนความประพฤติและให้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งจากการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ มีความผิดทั้งในด้านรวินัยข้าราชการ ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพและยังทำร้ายจิตใจและร่างกายของผู้อื่นอีกด้วย ดังนั้นครูจึงควรคิดให้ดีและต้องระงับจิตใจของตัวเองให้ได้
          ในฐานะที่กระผมเป็นนักศึกษาที่ได้เล่าเรียนวิชากฎหมายการศึกษากระผมคิดว่าทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าว คือ การระงับจิตใจของตนเองซึ่งเป็นเรื่องของศีลธรรมภายในจิตใจของแต่ละคน โดยผู้เรียนแค่มีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ ควรก็ควรจัดหากิจกรรมหรือเปลี่ยนรูปแบบการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดมากขึ้น เพราะบางครั้งเด็กอาจจะเขิลอายเวลาพูดกับครู และในส่วนของตัวผมเองการเป็นครูไม่ใช่ศักดิ์แต่จะสอน ๆ ให้ผู้เรียนมีความรู้แต่ต้องสอนคุณธรรม จริยธรรม การประพฤติที่ดีงามให้กับผู้เรียนด้วย เพราะเด็กนักเรียนจะดู สังเกต การปฏิบัติตัวของครู ดังนั้นก่อนสิ่งอื่นใด ครูจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในทุก ๆ เรื่อง

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (คะแนน)
          ตอบ ในการจัดทำ SWOT วิเคราะห์ตัวเอง ตัวผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ได้ดังนี้
จุดแข็ง(strength)
          1. เป็นคนมีเหตุมีผล
          2. จริงจังกับการทำงาน
          3. เป็นคนใจเย็น มีความอดทนต่อสิ่งกดดันค่อนข้างสูง
          4. เป็นคนจริงใจกับผู้คนรอบข้าง ไม่กินเล็กกินน้อย
          5. เป็นนักวางแผนในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่า การใช้ชีวิต การเงิน การทำงานและความรัก
          6. เป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ
          7. กล้าเสี่ยง กล้าลองทำสิ่งที่แปลกใหม่
          8. มีความถนัดในทางด้านภาษาอังกฤษและมีความสามารถในด้านเนื้อหาวิชา คณิตศาสตร์         วิทยาศาสตร์
          9. เรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่สามารถออกไปทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านภาษาได้
จุดอ่อน (weakness)
          1. เป็นคนที่ค่อนข้างเขิลอาย
          2. ใช้เงินฟุ่มเฟือย
          3. เป็นคนขี้เกียจ
          4. ทำอะไร ทุ่มเทหมดตัว
          5. พูดจาตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก
โอกาส (opportunities)
          1. ครอบครัวสนับสนุนในด้านการศึกษาอย่างเต็มที่
          2. มีครอบครัวที่อบอุ่น ที่สามารถพูดคุยได้ในทุก ๆ เรื่อง
          3. รู้จักบุคคลหลากหลายอาชีพ
          4. มีเพื่อนที่ดีและคอยให้กำลังอย่างสม่ำเสมอ
          5. ภายใน 1-2 ปีข้างหน้ามีครูที่จะเกษียณเยอะซึ่งง่ายต่อการสอบบรรจุ
อุปสรรค (threat)
          1. มีคู่แข่งในการสอบบรรจุค่อนข้างเยอะ
          2. ครอบครัวไม่ค่อยมีสภาพคล่องทางด้านการเงินหากเรียนจบแล้วต้องการศึกษาต่อ

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (คะแนน)
          ในการเรียนการสอนวิชานี้โดยส่วนใหญ่เป็นวิชาที่ผู้เรียนจะต้องไปศึกษาด้วยตัวเองและครูทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำ ตอกย้ำ ให้แนวทางในการศึกษาข้อมูล ซึ่งจากการการเรียนที่ผ่านมาพบว่าอาจารย์มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประกอบการสอนซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ มีการสั่งงาน แนบไฟล์เนื้อหาในเว็บบล็อกที่สามารถเข้าถึงได้อย่างตลอดเวลาแต่อย่างไรก็ตามกระผมมีปัญหาทางด้านสายตาจึงไม่ค่อยชอบอยู่กับคอมพิวเตอร์นานเท่าไหร และเมื่อกล่าวถึงข้อดี ข้อเสียสามารถสรุปได้ดังนี้
          ข้อดี
                    1. เป็นคนตรงเวลา
                    2. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษาในทุก ๆ ด้าน
                    3. มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
                    4. มีการแจ้งข้อมูลล่วงหน้าก่อนที่จะทำการใด ๆ
                    5. มีการจัดอบรมเรื่อง การทำ SWOT เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถของผู้เรียน
                    6. มีการประเมินทักษะความรู้ ความสามารถของผู้เรียนหลากหลายทิศทาง
          ข้อเสีย
                    1. ไม่มีเอกสารประกอบการเรียนการสอนแบบรูปเล่ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น