วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 4

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 2

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนที่อาจารย์ให้มาแล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.  ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ    ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475) คือ คณะราษฎร์ ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย และต้องการให้ประชาชนมีเสียงในการดำเนินกิจการในการพัฒนาประเทศ
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ  หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ


2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย 
ตอบ  ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาทั้งหมด  5 ประเด็นซึ่งอยู่ในหมวดหมู่ต่าง ๆ จำนวน 3 หมวดหมู่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
          หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
          หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
          หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3.  เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกัน คือ  รัฐจะต้องส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ  การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน  รัฐพึงสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ การจัดการศึกษาเล่าเรียนให้กับผู้ยากไร้รวมทั้งการสนับสนุนอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่ส่วนที่ต่างกันคือ ในปี 2517 ได้เพิ่มเสรีภาพในวิชาการให้มากขึ้นและได้รับการคุ้มครอง

4.  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนกัน  คือ รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีชื่อว่า  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475  ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าราชอาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรไทย จนถึงปัจจุบัน และกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากหนัก ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ ส่วนในเรื่องที่ต่างกันคือ ความเป็นสากลเพราะว่า ระบบรัฐธรรมนูญได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจึงทำให้มีความเป็นสากลมากขึ้น

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญทั้งสองประเด็นแล้วพบว่า มีความต่างกันโดยในประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ สนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ สนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
ส่วนในประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 จะกล่าวถึงในส่วนที่ รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน และส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ   การจัดการศึกษาเป็นสิทธิพื้นฐานที่มนุษย์พึงได้รับ ดังนั้นในการจัดการศึกษาก็ควรจะจัดอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงเพื่อให้ผู้คนไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไรสามารถเข้าถึงการศึกษาได้และที่ต้องระบุให้ชัดเจนเพราะว่าจะได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างถูกต้อง เมื่อใครไม่เข้าใจในการปฏิบัติก็สามารถกลับไปทบทวนรัฐธรรมนูญเพื่อความชัดเจนและความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ  เหตุผลที่รัฐบาลต้องกำหนด บุคคลให้มีการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ก็เพราะ ต้องการจัดระบบการศึกษาที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ตามกฎบัญญัติ และที่สำคัญก็คือต้องการให้คนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพในอนาคต
        หากรัฐไม่กำหนดบุคคลให้มีการศึกษาไม่มีการอบรมตามที่ได้บัญญัติไว้ ผู้คนในปประเทศไทยจะเป็นบุคคลที่ล้าหลัง ไม่มีการพัฒนิ่งต่าง ๆ เป็นบุคคลที่ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่าง ๆ ประเทศไทยจะค่อยๆ ร่วงหล่นลงเรื่อยๆ เพราะผู้คนไม่ได้รับการศึกษาและประชาชนก็ไม่มีอะไรทำ สุดท้ายประเทศก็จะมีแต่ความวุ่นวาย มีโจรเต็มบ้านเต็มเมือง

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  จากการศึกษาในเอกสารพบว่า การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างที่เห็นชัดเจน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ตามมาตรา 80 (2) ที่ว่า “ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนาและเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” เมื่อใดก็ตามที่ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะทำให้การศึกษาในที่นั้น ๆ พัฒนาได้เร็วขึ้นเพราะ เจ้าของพื้นที่จะรู้ดีกว่าผู้คน นักเรียนในพื้นที่นั้น ๆ ต้องการอะไร จะต้องจัดการศึกษาอย่างไรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพราะผลของการเรียนคือการนำความรู้ไปต่อยอด ไปทำการประกอบอาชีพ ผมจึงคิดว่า ถ้าหากการจัดการศึกษาสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำให้พัฒนาได้เร็วขึ้น
9.  เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ   เพราะว่าเราทุกคนที่เกิดมา ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย หรือหญิง ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีสถานภาพทางสังคมที่ด้อยกว่าผู้อื่น หรือมีวุฒิภาวะที่แตกต่างกันก็ตามทุกคนล้วนมีสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ทุกคนสามารถพัฒนาได้ เพราะฉะนั้นทุกคนควรได้รับความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกัน รัฐจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือและให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมให้มากขึ้น รวมทั้งการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีความรักษาสามัคคีปรองดองกัน คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศ
อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย
ตอบ     ผลของการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศ คือ
           1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในประเทศได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ได้มีการเก็บค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด จนทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าได้มีโอกาสและได้ศึกษาเล่าเรียน
           2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน ในแต่ละปีรัฐบาลก็จะมีค่าอุปกรณ์ให้กับนักเรียนเพื่อแบ่งเบาภาระทางบ้าน ไม่ว่าจะเป็น สมุด หนังสือเรียนฟรี และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ อีกมากมาย
           3.  การมอบทุนการศึกษา ให้กับนักเรียนในโอกาสต่าง ๆ เช่นนักเรียนเรียนดีแต่ยากจน หรืออาจเป็นทุนสนับสนุนความเป็นเลิศของนักเรียนในแต่ละด้าน
           4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการเพราะทุกคนที่เกิดมามีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาไม่เว้นแต่ผู้พิการต้องได้รับการดูแล และได้รับการศึกษาเพื่อที่จะได้นำความรู้ไปช่วยเหลือตัวเอง และในการทำอาชีพต่อไปในอนาคต
          5. ประเทศมีสภาปฏิรูปการศึกษาที่มีการกระจายอำนาจไปสู่ทุกภาคส่วนซึ่งสามารถพัฒนาการศึกษาได้อย่างทั่วถึง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น