ตอบคำถามท้ายบทที่ 1
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
มนุษย์เรานี้ต้องมีกฎหมายเป็นตัวบังคับ ตัวสั่งการเพื่อให้บ้านเมืองหรือสถานที่ต่าง
ๆ เกิดความสงบสุข ความเรียบร้อยในสังคมนั้น ๆ โดยกฎหมายนี้จะมีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรม
ความขัดแย้งและความต้องการในการทำสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์ไว้ ซึ่งในทางตรงกันข้ามถ้าหากมนุษย์เราไม่มีกฎหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนคือ
ความไม่มีระเบียบ ความวุ่นวาย
2.
ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่ หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ในสังคมปัจจุปันจะอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน
ถ้าหากไม่มีกฎหมายคอยดูแล บังคับ และสั่งการอยู่เพราะเมื่อใดที่ไม่มีกฎหมาย สังคมก็จะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง
การทะเลาะและการใช้ความรุนแรง
3.
ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
จากการศึกษาเกี่ยวกับคำว่า กฎหมาย มีผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความหมายไว้อย่างมากมายแต่ถ้าหากกล่าวโดยสรุป
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ
ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน
หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ
หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์
3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ค.
ที่มาของกฎหมาย
กฎหมายมีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกันแต่ในที่นี้จำเสนอที่มาของกฏหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน
ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น
รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
เป็นต้น
2. จารีตประเพณี
ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก
จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น
การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา
ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด
หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น
เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย
ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
3. หลักกฎหมายทั่วไป
ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี
มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง
จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย
ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น
หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย
คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น
ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. จารีตประเพณี
ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี
ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน
มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
2. คำพิพากษาของศาล
จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว
ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก
หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป
คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ในสมัยต่อ ๆ มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล
บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
4. ความเห็นของนักนิติศาสตร์
ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย
เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด
มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
5. หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา
ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป
การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ
มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น
ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม
แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี
ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา(Squity) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ง. ประเภทของกฎหมาย
นักวิชาการแบ่งประเภทของกฎหมายไว้อย่างหลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการแบ่ง
ของแต่ละท่าน
การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
หากเราจะพิจารณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ
สามารถแบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าหลักในการแบ่ง ได้แก่
แบ่งโดยแหล่งกำเนิด แบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
1. กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็นกฎหมายสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสบัญญัติ แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์
แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2. กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ซึี่งกฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์
เช่น แบ่งเป็นกฎหมาย ประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ
กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล
ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมือ
อย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
ซึ่งการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย
ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆ ไป ดังนี้
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือ ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ
หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้
สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น
การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้
การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมาย บังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้ เช่น กฎหมายที่ดิน
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้ง ยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีก
ตามพระราชบัญญัติวิธิีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธิีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิ
หน้าที่และความรับผิดชอบ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน
ซึ่งจะก่อให้เกิดผล
มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด
การกระทำผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย
กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด
และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่น
ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตรา
เป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง
วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของ
เจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์
การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน
การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณา คดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำผิดสำหรับคดีแพ่ง
กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ไว้เป็นวิธีการดำเนินคดี
เริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้ เป็นไปตามคำพิพากษา
ยังมีกฎหมายบางฉบับที่มีทั้งที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็น
ประเภทใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย
มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดี ล้มละลายรวมอยู่ด้วย
การที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่าสาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐ
เป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ
กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบ
แบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ
และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน
กฎหมายอาญาเพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม รัฐต้องลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนและกระทำผิด
สำหรับวิธี และขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา
และพระบัญญัติอื่น ๆ
เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม
4.2 กฎหมายเอกชน
เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจจำกัด
เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทำนิติกรรมสัญญา
มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพันธ์โดยการทำสัญญา
ปฏิบัติตาม กฎหมายครบทุกประการ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
ข. กฎหมายภายนอก
มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ
1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน
ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง
2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน
3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
4) เป็นเอกราช
5) มีอธิปไตย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ
สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก กฎหมายที่เป็นจารีต ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน
รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต
เอกสิทธิในทางการทูต
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลง
ยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
4.
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
เพราะว่าการที่ทุกประเทศมีกฎหมายนั้น
เพื่อให้ประเทศนั้น ๆ มีความสงบสุขภายในประเทศ และให้ประชาชนเกรงกลัวการกระทำผิด
เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
5.
สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
สภาพบังคับในทางกฎหมาย หมายถึง
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับเพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์
และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ
6.
สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ในกฎหมายแพ่งนั้น
มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง
บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด
เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น
อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้น
มีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด
ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ
ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน.
7.
ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4
ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
1.ระบบกฎหมายระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร ซี หรือวิล ลอว์(Civil Law) จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน
ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่าง ๆ หรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่
โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ
ซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วย
ซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ตัวอย่างก็เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ
2.ระบบกฎหมายระบบกฎหมายจารีตประเพณี) หรือคอมมอน
ลอว์(Common Law มีจุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ
เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน
ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น
โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น
ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป
ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย
แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี
ในระบบคอมมอน ลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว
ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อ ๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อ ๆ มาเหมือนกับคดีก่อน
ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง
แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิล ลอว์และคอมมอน ลอว์
ควบคู่กันไป
3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) มีจุดกำเนิดอยู่ที่รัสเซีย
แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ
ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน
มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม
เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน ปราศจากการกดขี่ข่มเหง ปราศจากชนชั้นวรรณะ
ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดร่วมกัน กฎหมายมีอยู่เพื่อความเท่าเทียม
เมื่อใดที่สังคมเกิดความเท่าเทียมกันแล้วกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
ส่วนลักษณะของกฎหมายสังคมนิยมนั้นจะมีการผสมผสานระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับจารีตประเพณีเข้าด้วยกัน
โดยมีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนจารีตประเพณีนั้นเป็นตัวช่วยในการตีความและอุดช่องว่างของกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
และที่สำคัญก็คือกฎหมายในระบบสังคมนิยมนั้นต้องแฝงหลักการหรือแนวคิดของคาร์ล
มาร์กซ์ และ เลนิน ด้วยเสมอ
4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้
โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเพณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา
เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า
ในปัจจุบันประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
กฎหมายอิสลามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก
แต่ส่วนกฎหมายในเรื่องอื่น ๆ ก็จะใช้แนวทางของกฎหมายของทางโลกตะวันตก หรือใน 4
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส
ในเรื่องครอบครัวและมรดกก็จะต้องนำกฎหมายศาสนาอิสลามมาใช้บังคับ
ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นเฉพาะ 4 จังหวัดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนในเรื่องอื่น
ๆ ทุกจังหวัดก็จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันรวมไปถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
8.
ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท
แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
นักวิชาการแบ่งประเภทของกฎหมายไว้อย่างหลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการแบ่ง
ของแต่ละท่าน
การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
หากเราจะพิจารณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ
สามารถแบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าหลักในการแบ่ง ได้แก่
แบ่งโดยแหล่งกำเนิด แบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
1. กฎหมายภายใน
เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก
เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็นกฎหมายสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสบัญญัติ แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์
แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2. กฎหมายภายนอก
เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ซึี่งกฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์
เช่น แบ่งเป็นกฎหมาย ประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ
กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล
ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมือ
อย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
ซึ่งการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย
ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆ ไป ดังนี้
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือ ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ
หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้
สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น
การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้
การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมาย บังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้ เช่น กฎหมายที่ดิน
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้ง ยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีก
ตามพระราชบัญญัติวิธิีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธิีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิ
หน้าที่และความรับผิดชอบ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน
ซึ่งจะก่อให้เกิดผล
มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด
การกระทำผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย
กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด
และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่น
ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตรา
เป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง
วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของ
เจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์
การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน
การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณา คดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำผิดสำหรับคดีแพ่ง
กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ไว้เป็นวิธีการดำเนินคดี
เริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้ เป็นไปตามคำพิพากษา
ยังมีกฎหมายบางฉบับที่มีทั้งที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็น
ประเภทใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย
มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดี ล้มละลายรวมอยู่ด้วย
การที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่าสาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐ
เป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ
กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบ
แบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ
และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน
กฎหมายอาญาเพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม รัฐต้องลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนและกระทำผิด
สำหรับวิธี และขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา
และพระบัญญัติอื่น ๆ
เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม
4.2 กฎหมายเอกชน
เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจจำกัด
เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทำนิติกรรมสัญญา
มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพันธ์โดยการทำสัญญา
ปฏิบัติตาม กฎหมายครบทุกประการ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
ข. กฎหมายภายนอก
มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ
1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง
2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน
3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
4) เป็นเอกราช
5) มีอธิปไตย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา
ข้อตกลงการค้าโลก กฎหมายที่เป็นจารีต ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน
รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต
เอกสิทธิในทางการทูต
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลง
ยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
9.
ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ศักดิ์ของกฎหมาย คือ
ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย การจัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ
ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น
หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า
กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูง
กว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย
แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา
10.
เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ
ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศวา่ จะมีการประชุมอย่างสงบ
แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม
และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน
ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำ ผิดหรือถูก
จากความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลกระทำผิดเนื่องจากการชุมนุมของประชาชนเป็นเรื่องที่สามารถทำขึ้นได้
ยิ่งเป็นการชุมนุมที่ปราศจากอาวุธก็ไม่สามารถมีใครมาห้ามได้
แต่ในการห้ามปราบของรัฐบาลก็ยังมีข้อดีเพราะว่าจะทำให้ไม่มีเรื่องราวบานปลายซึ่งถือว่าเป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
11.
ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
กฎหมายการศึกษาเป็นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฏหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐบาลเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้
12.
ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า
เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ถ้าหากเราไม่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนในวิชานี้
เมื่อข้าพเจ้าไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบยต่อการปฏิบัติวิชาชีพ
เพราะถ้าหากเรามีความรู้อยู่แล้ว
เราก็จะระมัดระวังเวลาที่จะทำอะไรซึ่งเป็นเรื่องราวที่ผิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น